แผนการดำเนินการ พ.ศ. 2567
แผนการดำเนินการ พ.ศ. 2567
กรกฎาคม
ตุลาคม
พฤศจิกายน
มกราคมปีถัดไป
เมื่อสิ้นสุดโปรแกรม ห้องปฏิบัติการสมาชิกจะได้รับเอกสารดังต่อไปนี้
1. หน่วยทดสอบความชำนาญมีระบบรับคำร้องเรียนโดยให้ห้องปฏิบัติการสมาชิกสามารถส่งคำร้องเรียนมาทางโทรศัพท์ จดหมาย โทรสาร หรือจดหมายอิเล็กโทนิกส์มายังหน่วยทดสอบความชำนาญ ผ่านทางผู้ประสานงาน ผู้จัดการวิชาการหรือผู้จัดการคุณภาพ รวมทั้งเจ้าหน้าที่สมาคมพยาธิวิทยาคลินิกไทย
2. เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานหน่วยทดสอบความชำนาญ บันทึกรายละเอียดในแบบฟอร์มการแก้ไขข้อร้องเรียน/การอุทธรณ์ผล รหัสเอกสาร CP-T-020
3. เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานหน่วยทดสอบความชำนาญต้องตรวจสอบสืบค้นหาสาเหตุโดยประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง สรุปและเสนอวิธีการแก้ไขรายงานต่อผู้จัดการคุณภาพ ทั้งนี้ บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหานั้น ๆ ด้วย
4. เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานหน่วยทดสอบความชำนาญ สรุปรายงานเสนอต่อผู้จัดการคุณภาพ เพื่อรับทราบและลงนามและแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
ห้องปฏิบัติการสมาชิก สามารถยื่นอุทธรณ์ผล (เป็นลายลักษณ์อักษร) ต่อ “คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล” ผ่านช่องทาง ดังนี้
1) ติดต่อด้วยตนเอง โดยห้องปฏิบัติการสมาชิก สามารถแจ้งเรื่องอุทธรณ์ผล ได้ที่ งานบริหารจัดการความเสี่ยงและควบคุมภายใน ตึกผู้ป่วยนอก ชั้น 6 คณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร 10700
2) ทางไปรษณีย์ ส่งไปที่งานบริหารจัดการความเสี่ยงและควบคุมภายใน ตึกผู้ป่วยนอก ชั้น 6 แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร 10700
โดยสมาชิกต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์ผลภายใน 4 สัปดาห์ นับจากวันที่ได้ส่งผลการประเมินให้แก่สมาชิก โดยยึดถือวันที่สามารถดูผลได้ทาง Website หรือ Google Drive เป็นวันแรก
ขั้นตอนการดำเนินการ
งานบริหารจัดการความเสี่ยง ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคําอุทธรณ์ผลของห้องปฏิบัติการสมาชิก และติดต่อกลับผู้ร้องเรียนภายใน 14 วันทำการ เพื่อแจ้งผลการดำเนินการ ในบางกรณีอาจ มากกว่า 14 วันทำการ ขึ้นอยู่กับความยุ่งยากซับซ้อนของการจัดการ
ผู้จัดการคุณภาพหน่วยทดสอบความชำนาญ บันทึกรายละเอียดในแบบฟอร์มการแก้ไขข้อร้องเรียน/การอุทธรณ์ผล รหัสเอกสาร CP-T-020